อีกไม่กี่วันก็ใกล้จะหมดเทศกาล Oktoberfest ที่เมืองมิวนิกกันแล้ว
แต่วันนี้พวกเรา InfoStory ไม่ได้มาพูดถึงเรื่องเบียร์กันนะคร้าบ
พวกเราจะขอพูดถึงหนึ่งอาหารที่พบได้แทบจะตลอดเวลาในเทศกาล Oktoberfest (หรือในร้านอาหารต่างๆ) นั่นคือ “ไส้กรอกเยอรมัน” นั่นเองงง
วันนี้พวกเราเลยขอนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยพออ่านสบายในวันหยุดมากฝากเพื่อน ๆ กัน
ถ้ามีเพื่อน ๆ ท่านไหนได้ไปกันมาแล้วบ้างในปีนี้ มาคอมเมนต์ให้พวกเราอิจฉากันได้นะคร้าบบ
— — — — — — — — — — — —
สำหรับพวกเราแล้วเนี่ย เวลาไปสั่งเมนูไส้กรอกของเค้าทีเนี่ย… มีหลากหลายชื่อเสียเหลือเกิน
บางชื่อก็เป็นการใช้เนื้อคนละส่วนจากเนื้อหมู/วัว บางเมนูก็เป็นตัวไส้กรอกรูปแบบเดียวกัน แต่เปลี่ยนวิธีการทำขั้นตอนส่วนผสม
บางเมนู..เอ้ย ดูผ่าน ๆ มันก็เหมือนกันเลยนี่หว่า…
(ใช่ บางเมนูคนละชื่อ แต่หน้าตาและรสสัมผัสเหมือนกัน แค่ต่างขนาดกันเล็กน้อย และมีต้นกำเนิดแตกต่างพื้นที่แตกต่างวัฒนธรรมกันสักเล็กน้อย)
แต่ถึงเมนูจะซ้ำก็คงไม่แปลก เพราะหากให้นับจำนวนชื่อไส้กรอกแต่ละเมนูทั้งประเทศเยอรมนี (ซึ่งจะมีบางเมนูที่ถูกดัดแปลงในรูปแบบของชาวออสเตรียด้วยนะ) ก็จะมีมากถึง 1,500 รูปแบบเลยละ !!
(มีมากกว่าเส้นพาสต้าของอิตาลีอีกนะเนี่ยย)
.
ต้นกำเนิดของไส้กรอกเยอรมัน ว่ากันว่าเริ่มต้นในช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล
โดยไส้กรอกในแบบของชาวเยอรมันเนี่ย ถูกบันทึกเป็นครั้งแรก ๆ ในบทประพันธ์มหากาพย์ “โอดีสซีย์” เป็นบทประพันธ์มหากาพย์กรีกโบราณหนึ่งในสองเรื่องของโฮเมอร์ ตั้งแต่ช่วงสมัย 800 ปีก่อนคริสตกาล
โอโห..ย้อนไปไกลขนาดนั้น อาจจะยังเรียกว่าชาวเยอรมันเต็มตัวเลยก็คงไม่ได้เนอะ (อาจเรียกได้ว่า เป็นแรงบันดาลใจจากไส้กรอกของชาวกรีก คล้าย ๆ กับเมนู Hot Dog ของชาวอเมริกันที่ได้แรงบันดาลใจมาจากไส้กรอกแฟร้งค์เฟิร์ตของชาวเยอรมัน)
แต่คำว่าไส้กรอกเยอรมัน อาจเรียกได้ในช่วงยุคสมัยกลาง (ประมาณค.ศ. 500 – 1000)
เริ่มตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก กลุ่มชนเจอร์แมนิก(ชาวเยอรมัน) บางส่วนได้นำวิธีการถนอมอาหารที่ชาวโรมันนิยมใช้กัน นั่นคือการเก็บเศษเนื้อ นำมาบดเข้าด้วยกันแล้วยัดใส่ในไส้หมูหรือไส้แกะ
(นอกเหนือไปจากชาวเจอร์แมนิกแล้วเนี่ย พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (William the Conqueror) ก็ได้นำวิธีทำไส้กรอก กลับไปเผยแพร่ที่อังกฤษด้วยเช่นกันนะ )
ซึ่งไส้กรอกเยอรมันชนิดที่อาจเรียกได้ว่าเป็นพ่อทุกสถาบันไส้กรอกเยอรมัน คือ “Brätwurst” โดยคำว่า brät เป็นภาษาเยอรมันโบราณแปลว่า เนื้อที่ถูกสับมาอย่างดี กับคำว่า “wurst” แปลว่าไส้กรอก
ในสมัยก่อนเนี่ย ไส้กรอกของชาวเยอรมัน เค้าก็จะมีทั้งในรูปแบบของการกินแบบดิบ (พวกไส้กรอกเลือด (Blutwurst) แบบกึ่งดิบกึ่งสุก แบบสุก และแบบแห้ง (Landjäger)
แล้วในสมัยก่อนเนี่ย ชาวเยอรมันเค้าไม่ได้เลือกเฉพาะเนื้อเอามาสับหรือบดนะ แต่ว่าเมนู “Bregenwurst” ในสมัยก่อนเนี่ย เค้าเอาสมองหมูและหน้าท้องหมูมาบด ผสมเครื่องเทศแล้วยัดเข้าไปในไส้หมู(หรือแกะ)
คือ เรียกได้ว่า ทุกส่วนของเนื้อหมูวัวแกะเนี่ย นำมาทำเป็นไส้กรอกได้นั่นเอง
แต่ปัจจุบัน Bregenwurst เค้าไม่ได้ใช้สมองหมูแล้วนะคร้าบ (ไม่มั่นใจว่าแถบชนบทเค้ายังทำกันอยู่รึเปล่านะ ไม่เคยลองเหมือนกัน)
ส่วนไส้กรอกแบบดิบๆเนี่ย ก็ไม่ได้เป็นที่นิยมมากแล้วละ ซึ่งเราก็จะชินตากับพวกไส้กรอกแบบปรุงสุก(ย่าง รมควัน) กันแล้ว หลัก ๆ เลยก็เพราะปัญหาเรื่องสุขภาพนี่ละคร้าบ
แต่เห็นว่าจะมีแต่กลุ่มไส้กรอกเลือด (Blutwurst) ที่นิยมกินแบบ coldcut แต่มันก็ไม่ได้ดิบขนาดนั้นนะ คล้าย ๆ กับพวกเนื้อซาลามี่
สารภาพว่ายังไม่เคยลองกินไส้กรอกเลือดเลยเหมือนกัน รบกวนเพื่อนๆที่เคยลองกินแล้ว แนะนำพวกเราทีนะคร้าบ
.
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
- บทความ Germany Has 1,200 Types of Sausage, and These Six Are Served at Oktoberfest จากเว็บ tasteatlas
- บทความ 12 ไส้กรอกเยอรมัน :เรื่องเล่าของสูตร รส วิธีทานและเกร็ดน่ารู้ก่อนลองลิ้มรส จากเว็บ breakfastinnovation
- บทความ From Ancient Greece to Germany: The History of Sausage จากเว็บ bauhausblogweebly
- บทความ The Ultimate Guide To German Sausages จากเว็บ thedailymeal